พรรณไม้ประดับมงคล
ชวนชม
ชื่อสามัญ Impala Lily Adeniumชื่อวิทยาศาสตร์ Adenium obesum.
ตระกูล APOCYNACEAE
ลักษณะทั่วไป ชวนชมเป็นพรรณไม้ยืนต้นอวบน้ำขนาดเล็กลำต้นมีความสูงประมาณ1-3เมตรลำต้นอวบน้ำผิวเปลือกสีเขียวปนขาวผิวเรียบเป็นมัน ลำต้นมียางลำต้นบิดงอไปตามจังหวะแตกกิ่งก้านสาขาน้อยรูปทรงโปร่งใบแตกออกตามปลายของกิ่งก้านใบมนรีปลายใบมนโคนใบ สอบเรียว กลางใบมีเส้นสีขาวมองได้ชัด ตัวใบแข็ง ผิวเป็นมันเรียบมีสีเขียวดอกออกตรงปลายยอดของก้านดอกเป็นรูปแตรมีกลีบ ดอก 5 กลีบ มีสีชมพูโคนกลีบดอกมีฐานรองดอกเป็นแฉกเล็ก ๆ สีเขียว ดอกบานมีความกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำน้อย ทนต่อความแห้งแล้งให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง
ดิน ดินร่วนซุย
ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง
การขยายพันธ์ การปักชำ การตอนโรคและศัตรู ไม่ค่อยมีปัญหา
เรื่องโรคและศัตรู เพราะเป็นไม้ที่มีความทนทานต่อสภาพธรรมชาติได้ดี
ใบเงิน
ชื่อสามัญ Caricature Plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ Grapthophyllun pictum
ตระกูล ACANTHACEAE
ชื่ออื่น ทองคำขาว
ลักษณะทั่วไป ใบเงินเป็นพรรณไม้ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นพุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งสาขาออกจากโคนต้น และเจริญพุ่งตรงไปข้างบน ลำต้นกลมเล็ก สีขาวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ ๆ สลับกันตามลำต้น ใบเป็นรูปรี ปลายใบ แหลมขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อยขนาดใบกว้างประมาณ3-6 เซนติเมตรยาวประมาณ7-10 เซนติเมตรพื้นใบสีเขียวกลาง ใบปนด้วยสีขาวหรือเหลืองจาง ๆ ออกดอกเป็นช่อ ตามส่วนยอดของลำต้น ลักษณะดอกเป็นหลอดยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร โคนหลอดจะมีกลีบดอก 3 กลีบ ดอกมีสีแดงเข้ม
การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดอ่อน รำไร
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลางควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน ดินร่วนซุย ต้องการความชื้นสูง
ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-5 ครั้ง
การขยายพันธ์ การใช้เมล็ด การปักชำ
วิธีที่นิยมและได้ผลดี การปักชำ
โรค ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อโรคได้ดี
แมลง ไรแดง (Red spider mite)
อาการ ใบสีเหลือง และแห้งเป็นจุดสีน้ำตาล
การป้องกัน รักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก
การกำจัด ใช้กำมะถันผง (Sulphur) อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก หรือใช้ยาไอโซทอกซ์
ใบทอง ชื่อสามัญ Gold Leaves
ชื่อวิทยาศาสตร์ Grapthophyllun pictum
ตระกูล ACANTHACEAE
ชื่ออื่น ทองนพคุณ ทองลงยา
ลักษณะทั่วไป ใบทองเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กลักษณะเป็นพุ่มขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ2-4 เมตรการแตกกิ่งก้านสาขาออก จากโคนต้นและเจริญพุ่งตรงขึ้นไปข้างบนลำต้นกลมเล็กมีสีขาวปนเทาใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ๆสลับกันตามข้อของลำ ต้นหรือกิ่งก้าน ลักษณะใบคล้ายรูปหอกปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นใบมีสีเหลืองอ่อน ขอบใบจะมีรอยด่างเป็นสีเหลือง ขนาดใบกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อสั้น ออกตามส่วนยอดของลำต้น ลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร โคนหลอดจะมีกลีบดอก 3 กลีบ ดอกมีสีม่วง
การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดอ่อน รำไร
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลางควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน ดินร่วนซุย ต้องการความชื้นสูง
ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-5 ครั้ง
การขยายพันธ์ การใช้เมล็ด การปักชำ
วิธีที่นิยมและได้ผลดี การปักชำ
โรค ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อโรคได้ดี
แมลง ไรแดง (Red spider mite)
อาการ ใบสีเหลือง และแห้งเป็นจุดสีน้ำตาล
การป้องกัน รักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก
การกำจัด ใช้กำมะถันผง (Sulphur) อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก หรือใช้ยาไอโซทอกซ์
ทองกวาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Butea monosperma.
ตระกูล LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น จอมทอง ทองต้น ทองธรรมชาติ
ลักษณะทั่วไป ทองกวาวเป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลางและใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 12-18 เมตร ผิวเปลือกสีน้ำตาลหรือสีเทาคล้ำ ผิวเปลือกเป็นตุ่มหรือปม การแตกกิ่งก้านไปในทิศทางที่ไม่ค่อยเป็นระเบียบ ใบออกเป็นช่อมีใบประกอบ 3 ใบ ก้านใบยาวประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร ลักษณะใบกลม ปลายมน รีแหลม โคนใบมนสอบ ขนาดใบกว้าง 2 - 5 นิ้ว ยาวประมาณ 4 - 8 นิ้ว อกดอกเป็นช่อคล้ายกับดอกทองหลาง ดอกมีขนาดใหญ่สีแดงหรือสีเหลือง ดอกเป็นช่อสั้น มี กลีบดอก 5 กลีบ ผลมีลักษณะเป็นฝัก แบน โค้งงอเล็กน้อย ฝักยาวประมาณ 10 - 12 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 - 3เซนติเมตร เปลือกนอกสีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักมีเมล็ดขนาดเล็ก
การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง
ดิน ชอบดินร่วนซุย
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2 : 3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3- 5 ครั้ง
การขยายพันธ์ การเพาะเมล็ด
โรค ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนต่อโรคพอสมควร
ทองหลาง
ทองหลาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrina crista - galli
ตระกูล PAPILIONACEAE
ลักษณะทั่วไป ทองหลางเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นมีความสูงประมาณ 10 - 20 เมตรผิวเปลือกลำต้นบางมีสีเทาหรือ เหลืองอ่อนๆ ลำต้นและกิ่งก้านนั้นมีหนามแหลมคมใบเป็นใบรวมออกเป็นช่อมีประมาณ 3 ใบลักษณะใบเป็นรูปสามเหลี่ยม คล้ายใบโพธิ์ขนาดใบกว้างประมาณ 2 -3 นิ้วยาวประมาณ35นิ้วผิวใบเรียบสีเขียวหรือด่างเหลืองๆใต้ท้องใบมีสีขาวขุ่นก้านช่อ ยาวประมาณ 3-5 นิ้วดอกออกเป็นช่อติดกันเป็นกลุ่มออกตามบริเวณข้อต้นหรือโคนก้านใบลักษณะดอกคล้ายกับดอกถั่วมีสี แดงหรือชมพูกลีบดอกกว้างประมาณ 1-2 นิ้ว ยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ช่อดอกยาวประมาณ 4-8 นิ้ว ผลเป็นฝักแบนโค้งเล็กน้อย โคนฝักจะลีบเล็กผลแก่ฝักจะแตกที่ปลายอ้าออกภายในฝักมีเมล็ดเป็นเหลี่ยมนอกจากนี้ลักษณะของต้นใบดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน ชอบดินร่วนซุย
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2: 3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15 - 15 - 15 อัตรา 100-300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 3-4 ครั้ง
การขยายพันธ์ การปักชำ การตอน
โรค ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะมีความทนทานต่อโรคได้ดี
ศัตรู เพลี้ยต่าง ๆ (Aphis)
อาการ กัดแทะใบ ทำให้ใบเป็นรู เป็นรอย โดยเฉพาะใบอ่อนจึงทำให้ทรงพุ่มแคระแกร็น
การป้องกัน ทำลายตัวอ่อนของเพลี้ยก่อนเจริญเป็ฯตัวแก่
การกำจัด ใช้ยาคาร์บาริล (Carbaryl) อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก
สวยทุกต้นเลย
ตอบลบชอบต้นทองหลาง อยากได้มาปลูกไว้ที่บ้าน
ตอบลบชอบชวนชม
ตอบลบขอบคุณสำหรับความรู้ดีดีที่นำมาฝากนะค่ะ
ตอบลบ